กรมบังคับคดี กับ “การยึดทรัพย์สิน” ตอน การขับไล่ และ การรื้อถอน

การรื้อถอน-1

สวัสดีคะ วันนี้เราก็จะมาพูดถึง การขับไล่และ การรื้อถอน กันว่า มีขั้นตอนในการดำเนินการยังไง ต้องเตรียมเอกสารและเตรียมตัวยังไงในการดำเนินการอย่างถึงที่สุดกับลูกหนี้เจ้าปัญหาของคุณ เพื่อให้คุณได้เตรียมพร้อมรับมือกัน หากเกิดกรณีนี้ขึ้นกับตัวของคุณเอง

การขับไล่และการรื้อถอน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อในกรณีที่คำพิพากษาถูกพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการ ให้เจ้าหนี้เข้าครอบครองทรัพย์ รวมทั้งการบังคับคดีในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ฯลฯ หรือขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ (ตาม ป.วิ.พ มาตรา 350)

การรื้อถอน-2วิธีการดำเนินการขับไล่

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อไปทำการปิดประกาศ ถ้าไปถึงทรัพย์พิพาทแล้วปรากฏว่าไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในทรัพย์พิพาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอยู่ในทรัพย์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งมอบทรัพย์พิพาทให้เจ้าหนี้ แต่ถ้าไม่มีบุคคลใดอยู่อาศัย แต่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นอยู่ในทรัพย์พิพาท เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจะจัดทำบัญชีรวบรวมทรัพย์สินไว้ แล้วแจ้งให้ลูกหนี้มารับคืนภายในกำหนดเวลา ถ้าไม่มารับคืนภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานต่อศาล ขออนุญาตขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อเก็บไว้ให้ลูกหนี้ต่อไป (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 352)

ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวารไม่ยอมออกไปจากทรัพย์สิน และดึงดันจะอยู่ต่อ เจ้าหนี้ตามคำพิพากพษาจะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีจากกรมบังคับคดี เพื่อไปปิดประกาษแจ้งให้ผู้ที่อยู่อาศัยในทรัพย์สินข้อพิพาท ซึ่งอ้างว่ามิใช้บริวารของลูกหนี้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล ภายในกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันปิดประกาศ ถ้าหากไม่มีผู้ยื่นแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดของระยะเวลาดังกล่าวและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ว่ายังมีลูกหนี้หรือบริวาร (ต้องแถลงโดยระบุชื่อ และชื่อสกุล) ยังอาศัยอยู่ในทรัพย์พิพาท ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้รายงานต่อศาลออกหมายจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบริวาร เจ้าพนักงานบังคับคดีจะรายงานขอให้ศาลออกหมายจับกุมบุคคลดังกล่าว แล้วมาแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินพิพาทให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

แต่ถ้าหากมีผู้ยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษในทรัพย์พิพาทต่อศาล ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันปิดประกาศ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการบังคับคดีไว้รอฟังคำสั่งของศาล หากต่อมาศาลสั่งยกเลิกคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของบุคคลดังกล่าว และเจ้าหนี้มาแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานของศาลขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลดังกล่าว เมื่อไม่มีผู้ใดอยู่ในทรัพย์พิพาทแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะส่งมอบการครอบครองให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (ตาม ป.วิ.พ มาตรา 353)

กรณีการเข้าครอบครองทรัพย์ของผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด ของกรมบังคับคดี (ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 334)

บุคคลผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นยังมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาศัยอยู่และลูกหนี้และพบริวารยังแสดงเจตนาที่จะไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อจะต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาล ที่อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้อยู่ในเขตศาลนั้น เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการส่งมอบการครอบครอง เช่นเดียวกับกรณีการฟ้องขับไล่เช่นกัน

การรื้อถอน-4วิธีการดำเนิน การรื้อถอน

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องมานำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศกำหนดวันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่น้อยกว่า 15 วัน ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษารื้อถอนออกไปเองก่อนกำหนด และเมื่อเจ้าหนี้แถลงเจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งมอบการครอบครองทรัพย์พิพาทให้เจ้าหนี้ แต่ถ้าหากครบกำหนดเวลาที่ปิดประกาศไว้แล้ว ลูกหนี้ยังคงดึงดันไม่ยอมรื้อถอน เจ้าหนี้จะต้องมานำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปควบคุมการรื้อถอน ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนให้ลูกหนี้เป็นผู้เสีย แต่โดยปกติเจ้าหนี้เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายก่อน เมื่อดำเนินการรื้อถอนเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะส่งมอบการครอบครองทรัพย์พิพาทให้เจ้าหนี้และรวบรวมทรัพย์สินวัสดุที่ได้จากการรื้อถอน ให้จัดทำบัญชีรวบรวมทรัพย์สินไว้เพื่อส่งมอบ หรือเรียกให้ลูกหนี้รับคืนไปภายในกำหนดเวลา หากลูกหนี้ไม่มารับคืนตามกำหนดเวลา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อเก็บเงินไว้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป

สำหรับคดีใดนอกเหนือจากจะต้องส่งมอบการครอบครองในเรื่องขับไล่และรื้อถอนแล้วยังปรากฏว่าศาลสั่งให้ลูกหนี้ชำระค่าเสียหายให้เจ้าหนี้อีก หากเจ้าหนี้มีความประสงค์จะบังคับคดีในส่วนค่าเสียหายก็สามารถดำเนินคดีได้ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับการยึดทรัพย์ และขายทอดตลาด หรือการอายัดทรัพย์สิน

การดำเนินการจัดเตรียมเอกสารและดำเนินการ ดังนี้

  1. เขียนคำร้องขอให้ขับไล่ – รื้อถอน
  2. วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท
  3. จัดหาหรือเตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ – ส่ง เจ้าพนักงานบังคับคดี
  4. เตรียมคนงานในการรื้อถอนและยานพาหนะสำหรับขนย้ายทรัพย์ที่รื้อถอนหรือรวบรวม
  5. ในกรณียึดทรัพย์สินจำเลยด้วย ให้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันที่ยึด เพื่อแจ้งการยึดทรัพย์ให้จำเลยทราบ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่