ทำความรู้จักกับ “ กรมบังคับคดี ” จะ ลงทุนอสังหา ฯ ต้องรู้ไว้ !?

กรมบังคับคดี

สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาในด้านสิทธิในส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือกำลังคิดจะลงทุนในด้านนี้ ก็ควรจะรู้ว่า กรมบังคับคดี มีความสำคัญต่อเรายังไง บทบาทหน้าที่ต่อ ธุรกิจ ธุรกรรม ต่ออสังหาริมทรัพย์อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์ ต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้อื่น หรือมิจฉาชีพ

“ กรมบังคับคดี ” เริ่มต้นจาการพัฒนาหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยกระทรวงยุติธรรมได้ทำการยกฐานะของ “กองบังคับคดีแพ่ง” และ “กองบังคับคดีล้มละลาย” โดยจัดตั้งขึ้นเป็น “กรมบังคับคดี” ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม

กรมบังคับคดีพันธกิจ

ก่อนอื่นเรามารู้ถึงเป่าหมายและความมุ่งมั่นของ “กรมบังคับคดี” ก่อนว่า ภารกิจหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานและให้บริการแก่ประชาชนอย่างเรานั้น ว่ามีจุดประสงค์อย่างไรกันบ้าง

  1. ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี การวางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา อย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาคและเป็นธรรม
  2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และการพัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี วางทรัพย์และการไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งพัฒนาและระบบงานสนับสนุน ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
  3. พัฒนากฏหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดี ให้ทันสมัยและเป็นมาตรฐานสากล
  4. พัฒนาเคลือข่ายและความร่วมมือ ด้านการบังคับคดีกับองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  5. พัฒนาองค์กรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
  6. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ มีจิตสำนึกต่อการบริการอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม
  7. เผยแพร่ความรู้ทางด้านกฏหมายการบังคับคดี การวางทรัพย์ การไกล่เกลี่ยภายหลังคำพิพากษา และกฏหมายที่เกี่ยวข้องให้แก่ประชาชน ได้เข้าใจอย่างทั่วถึง

การแบ่งส่วนราชการ กรมบังคับคดี

โดยในส่วนงานราชการของ “กรมบังคับคดี” นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆด้วยกัน คือ ส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการกรมบังคับคดี ได้ดังต่อไปนี้

ราชการบริหารส่วนกลาง

  1. สํานักงานเลขานุการกรม
  2. กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย

3-8. กองบังคับคดีล้มละลาย 1-6

  1. กองบริหารการคลัง
  2. กองบริหารทรัพยากรบุคคล
  3. กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์

12-17. สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1-6

  1. สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
  2. กลุ่มตรวจสอบภายใน
  3. กลุ่มพัฒนาบริหาร
  4. กลุ่มงานคุ้มคลองจริยธรรม
  5. ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
  6. ศูนย์สารสนเทศ

ราชการบริหารส่วนภูมิภาค

  1. สำนักงานบังคับคดีจังหวัด

สำนักงานบังคับคดีจังหวัด….สาขา….

อำนาจและหน้าที่หน่วยงานในกรมบังคับคดี

ส่วนกลาง

1.สํานักงานเลขานุการกรม

มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไปของกรม และราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง

  • ปฏิบัติงานสารบรรณของกรม
  • ดําเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอํานวยการและงานเลขานุการของกรม
  • ประสานราชการและเผยแพร่กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของกรม
  • เสนอแนะและประสานการจัดทําแผนปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงรวมทั้งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัด
  • วางแผนและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศของกรม
  • ดําเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสภาพทรัพย์ที่ถูกยึด คําคู่ความ หนังสือ หรือประกาศ และการเก็บสํานวนในคดีล้มละลาย รวมทั้งการรักษาทรัพย์
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

2.กองติดตามและเฉลี่ยทรัพย์ในคดีล้มละลาย มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ติดตามและรวบรวมทรัพย์สิน รวมทั้งตรวจสอบข้อมูล เอกสาร และหลักฐานทางการเงินต่างๆของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย
  • คํานวณเงินตามคําสั่งและคําร้องในสํานวนคดี
  • จัดการสะสางกิจการและติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย
  • จัดทําบัญชีแบ่งทรัพย์สินในการบังคับคดีล้มละลายและการชําระบัญชีตามคําสั่งศาล
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

3 – 8.กองบังคับคดีล้มละลาย 1-6 มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลายตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
  • ดําเนินการชําระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลในฐานะผู้ชําระบัญชีตามคําสั่งศาล
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

9.กองบริหารการคลัง มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของกรม
  • จัดทําบัญชีเพื่อควบคุมเงินที่อยู่ระหว่างดําเนินการบังคับคดีและเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดี
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

10.กองบริหารทรัพยากรบุคคล มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • บริหารงานทรัพยากรบุคคลและจัดระบบงานของกรม
  • ดำนเนินการอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี และบุคลากรภายนอก ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มลาย การวางทรัพย์ และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

11.กองพัฒนาระบบการบังคับคดีและประเมินราคาทรัพย์ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนนี้

  • ศึกษา พัฒนา และวิจัยระบบและรูปแบบการบังคับคดีแพ่ง การบังคับคดีล้มละลาย การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การวางทรัพย์ การติดตามและเฉลี่ยทรัพย์ และการประเมินราคาทรัพย์
  • ดําเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์ และปฏิบัติงานในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการกําหนดราคาทรัพย์
  • ประสานและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในด้านการบังคับคดีกับองค์การหรือพนักงานต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในด้านการบังคับคดี
  • ดําเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรม
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

12 – 17.สํานักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 – 6 มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดําเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งและการวางทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร
  • ดําเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

18.สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดําเนินการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

19.กลุ่มตรวจสอบภายใน

ทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบดำเนินงานภายในกรม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของกรม รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดำนเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และ การบัญชีของกรม
  • ปฏิบัติงารร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

20.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

ทำหน้าที่หลักในการพัฒนาการบริหารของกรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่ออธิบดี โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่อธิบดี เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในกรม
  • ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยกับการพัฒนาระบบราชการภายในกรม
  • ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่างๆ และหน่วยงานภายในกรม
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

21.กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดำเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ยกย่องข้าราชการที่เป็นแบบอย่างที่ดีและติดตามสอดส่องการปฏิบัติตามการประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างสม่ำเสมอ
  • สืบสวนข้อเท็จจริงการฝ่าฝืนจริยธรรม เพื่อรายงานผลให้อธิบดีพิจารณา ทั้งนี้ โดยอาจมีผู้ร้องเรียน หรืออาจดำเนินการตามที่อธิบดีมอบหมายหรือตามที่เห็นสมควรก็ได้
  • ให้ความช่วยเหลือและดูแลข้าราชการ ซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้ถูกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม
  • ทำหน้าที่ผ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
  • ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน หรือตามที่หัวหน้าส่วนราชการคณะกรรมการจริยธรรม หรือตามที่ ก.พ. มอบหมาย ทั้งนี้โดยไม่กระทบต่อความเป็นอิสระของผู้ดำรงตำแหน่งในกลุ่มงานดังกล่าว

22.ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดำเนินการเกี่ยวกับคดีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการบังคับคดี
  • ติดตามและประเมินผลการไกล่เกลี่ย จะจัดเก็บสถิติลักษณะของการเจรจาที่สำฤทธิ์ผล จำทำเป็นองค์ความรู้ในการดำเนินการ
  • จัดอบรมผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีประสิมธิภาพ รวมทั้งจัดอบรมเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีให้แก่ประชาชน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

23.ศูนย์สารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • สำรวจ รวบรวมศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ วางแผนพัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรม และวางแผนสารสนเทศ ตลอดจนระบบสำนักงานอัตโนมัติ รวมทั้งให้บริการข้อมูลสาระสนเทศในรูปแบบสื่อต่างๆ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนภูมิภาค

24.สำนักงานบังคับคดีจังหวัด/สาขา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีล้มละลาย ตามกฏหมายที่ว่าด้วยการล้มละลาย
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการวางทรัพย์
  • ดำเนินการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคล ในฐานะผู้ชำระบัญชีตามคำสั่งศาล
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่