การเช่าทรัพย์ ตอน ทำความรู้จักการเช่าทรัพย์ และ การเช่าช่วงโดยชอบ

การเช่าทรัพย์

การเช่าทรัพย์ ก็คือการที่ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะอันมีจำกัด โดยผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าตอบแทนในการที่ตนได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สิน

การเช่าทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. การเช่าสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่ารถ เช่าเรือ เช่าช้าง เป็นต้น ในทางกฎหมายไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ และจะเช่านานเท่าใดก็ได้ แต่ต้องมีการระบุระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น เช่า 1 ปี หรือ 40 ปี
  2. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าที่ดิน เช่าบ้าน เป็นต้น จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ และถ้าเป็นการเช่ากันเกินกว่า 3 ปี หรือตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า จะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้นการเช่านั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น

การเช่าทรัพย์

นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดว่า การเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปจะเช่ากันเป็นเวลาเกินกว่า 30 ปีไม่ได้ ถ้าในสัญญากำหนดมาเกินกว่า 30 ปี กฎหมายให้ลดเหลือลงมา 30 ปี เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็มีสิทธิต่อสัญญากันได้อีก แต่ก็ต้องไม่เกิน 30 ปีอีกเช่นกัน

ในปี 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ การเช่าอสังหาฯขึ้นมาใหม่ ด้วยการยืดระยะเวลาการเช่าทรัพย์ขึ้นมาใหม่จาก 30 ปี เป็น 50 ปี ทั้งนี้ทั้งนั้นการเช่าอสังหาฯ จะต้องเป็นการเช่าเพื่อเชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น จะถือว่าโมฆะ

เงื่อนไขการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพานิชยกรรและอุตสาหกรรม

โดยเงื่อนไขจะต้องกำหนดว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น และจะให้เช่าที่ดินเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่ไม่ได้ ถ้าเกินจากนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดินก่อน ซึ่งสิทธิการเช่าตาม พ.ร.บ นี้สามารถตกทอดแก่ทายาทได้ และผู้เช่าจะให้เช่าช่วงโอนสิทธิการเช่า ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เว้นแต่จะมีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่าและยีงสามารถใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนองได้ด้วย

การเช่าทรัพย์

การเช่าช่วงโดยชอบ

การเช่าช่วงโดยชอบ คือ เมื่อผู้เช่าทรัพย์สินมาจากผู้ให้เช่าโดยชอบแล้ว ผู้เช่ามีสิทธินำทรัพย์สินไปให้ผู้อื่นเช่าต่อได้ ดังนั้นการเช่าช่วงก็คือการเช่านั้นเอง ใช้กฎหมายเดียวกันบังคับ การเช่าช่วงกับการเช่ามีแง่มุมทางกฎหมายเหมือนกันแทบทุกอย่าง เว้นแต่ข้อกำหนดบางประเด็นเท่านั้น นั้นก็คือ

  1. จะกำหนดเวลาเช่าช่วงนานเกินกำหนดเวลาเช่าไม่ได้ ถ้าผู้เช่านำทรัพย์สินที่เช่าไปให้เช่าช่วงเกินกว่ากำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าระงับ สัญญาเช่าช่วงก็ระงับไปด้วย
  2. ผู้เช่าช่วงต้องรับผิดชอบต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง กฎหมายถือว่าผู้เช่าช่วงมีฐานะเหมือนผู้เช่า ผู้เช่าช่วงไม่ใช่บริวารของผู้เช่า ผู้เช่าช่วงเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าช่วง(ผู้เช่าเดิม) ผู้เช่าช่วงจึงมีสิทธิและหน้าที่ต่อผู้ให้เช่าช่วง(ผู้เช่าเดิม) ในฐานะผู้เช่า ในขณะเดียวกัน ผู้เช่ายังมีหน้าที่ต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงด้วย กล่าวคือ ผู้เช่าเดิมต้องรับผิดชอบให้แก่ผู้ให้เช่าเดิมอย่างไร ผู้เช่าช่วงก็ต้องรับผิดชอบต่อผู้เช่าเดิมอย่างนั้น แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินความรับผิดชอบตามสัญญาเช่าช่วงด้วย

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่