เพราะอะไร? ร่างพ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,อัตราภาษี,ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง2560,ลดหย่อนภาษี2560
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,อัตราภาษี,ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง2560,ลดหย่อนภาษี2560

ตัวอย่างรูปแบบการคำนวณภาระภาษี ที่ต้องเสียในแต่ละปีดังนี้ค่ะ

– กรณีที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง  ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี  โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน

– กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา

– กรณีห้องชุด  ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)

 

การยกเว้นและบรรเทาภาระภาษี

  1. การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการบรรเทาภาระให้กับเจ้าของบ้านพักอาศัยหลักที่ได้มาจากการรับมรดก ผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ และกิจการสาธารณะ ดังนี้

– จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.05% ของฐานภาษี ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน เป็นระยะเวลา 5 ปี

– ในกรณีที่เจ้าของบ้านพักอาศัยหลักได้รับกรรมสิทธิ์บ้านจากกองมรดกก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะมีการบรรเทาภาษีให้ โดยการลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 50% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย

-ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.05% ของฐานภาษี สำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย ที่นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน

-ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 1 ปี ให้กับที่ดินที่อยู่ระหว่างการปลูกสร้างบ้านที่เจ้าของใช้เป็นบ้านของตนเอง

-ให้ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน 75% ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสียสำหรับกิจการสาธารณะ

 

ประโยชน์ที่จะได้รับจาก พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง,อัตราภาษี,ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2560,ลดหย่อนภาษี 2560
อัตราภาษี,ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง2560,ลดหย่อนภาษี 2560
  1. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือ ผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ
  1. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ลดการใช้ดุลยพินิจ กระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไรและกระจายการถือครองที่ดิน
  1. ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการเรียกเก็บภาษี 64,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 38,318 ล้านบาท (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน-ภาษีบำรุงท้องที่)
  1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานของ อปท. มากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จาก พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ในครั้งนี้เชื่อว่าไม่ได้มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่หรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ เท่าไรนัก แต่สำหรับพ่อค้านายหน้าสะสมที่ดินซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่า ร่วมถึงคนที่มีบ้านหลายหลัง ก็ลองตรวจสอบทรัพย์สินของตัวเองกันว่ามีมูลค่าเท่าไร จัดอยู่ในประเภทไหนบ้าง ประเภทที่ต้องเสียภาษีด้วยหรือไม่ ในอัตราเท่าไร อย่าลืมบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

อ่านหน้า 1

                                                                                                                                           

Dot Property เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ซื้อ-ขาย อย่างมืออาชีพ…

ท่านต้องการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่หรือไม่ ลงประกาศขายกับ Dot Property ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศง่าย ขายได้ไว
หรือหากท่านกำลังมองหา คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน เว็บไซต์ Dot Property มีให้ท่านเลือกมากกว่า 300,000 รายการ ได้ตรงตามความต้องการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย