เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ ที่ควรรู้ ตอนที่ 1

เอกสารสิทธิ์ที่ดิน

การถือครองที่ดินในปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่ออกโดยรัฐบาลเพื่อช่วยไม่ให้เกิดการบุกรุกหรือยื้อแย่งที่ดินกันเกิดขึ้น แต่ เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ที่ใช้กันในบ้านเรานั้น ไม่ได้มีแค่โฉนดที่ดินเพียงอย่างเดียว แต่มีเอกสารประเภทอื่นหมุนเวียนอยู่ด้วย เช่น น.ส.3 ใบจอง ใบไต่สวน หรืออาจะเป็นเอกสารสิทธิที่ดินแบบโบราณ ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 จะประกาศบังคับใช้ หรืออาจะเป็นเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่กรมที่ดิน เช่น ส.ป.ก.4-01,สิทธิทำกิน เป็นต้น

ประเด็นสำคัญที่ควรรู้ก็คือ กฎหมาย ที่เอกสารสิทธิแต่ละประเภทรับรองสิทธิความเป็นเจ้าของให้กับผู้ถือครองได้ไม่เท่ากัน นอกจากนนี้ยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดตามกฎหมายในด้านการใช้ประโยชน์อีกด้วย

เอกสารสิทธิ์ที่ดินเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ก่อนกฎหมายที่ดินมีผลบังคับใช้งาน

  • ตั๋วฎีกา จะออกให้เจ้าของที่ดินเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษ๊
  • หนังสือสำคัญประจำบ้าน จะออกให้เฉพาะเขตในกรุงเทพ ในสมัยตอนต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวๆ จ.ศ.1203
  • ใบเหยียบย่ำ เป็นหนังสือที่แสดงพียงแต่ว่า ผู้มีชื่อใหนังสือสามารถขุดโคนต้นไม้ตอไม้เพื่อปลูกสร้างและหักร้างถางพงทำที่ดินให้เกิดประโยชน์ภายในกำหนดการ เมื่อทำประโยชน์ภายในกำหนดการแล้วจึงมีสิทธิในที่ดินและขอรับหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ได้ในกฎหมาย ใบเหยียบย่ำมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น
  1. ใบเหยียบย่ำที่ออกให้แก่ผู้จับจองที่ดิน ตามข้อบังคับการหวงห้ามที่ดิน ศ.ก.177 โดยนายอำเภอเป็นผู้ออกให้ มีอายุ 12 เดือน เมื่อคน 12 เดือนแล้วต้องไปขอต่ออายุใบเหยียบย่ำ และสามารถโอนกันได้ตามกฎหมาย
  2. ใบเหยียบย่ำออกตามกฎเสนาบดี โดยกรมการอำเภอเป็นผู้ออกให้แก่ผู้จับจองที่ดิน มีอายุ 1 ปีและไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆทั้งสิ้น
  3. ใบเหยียบย่ำออกโดยมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) โดยกรมการอำเภอเป็นผู้ออกให้ มีอายุ 2 ปี และไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆทั้งสิ้น
  4. ใบเหยียบย่ำออกตามข้อบังคับชั่วคราว สำหรับการเพาะปลูกส่วนใหญ่ สวนพักศร ที่เลนนาร.ศ.129 (พ.ศ.2453) จะแยกเป็นสองอย่าง คือ เพื่อปลูกสวนพักศร ได้แก่ไม้ล้มลุกมีอายุไม่เกิน 3 ปี  อีกอย่างหนึ่งคือ ใบเหยียบย่ำจะมีอายุ 24 เดือน เมื่อครบ 24 เดือน แล้วทำประโยชน์ได้ถึง 1 ใน 10 ของเนื้อที่ขอจับจอง ก็มีสิทธิต่ออายุใบเหยียบย่ำได้อีก 3 ปี

ถ้าใครขอใบเหยียบย่ำเพื่อทำการเพาะปลูกสวนใหญ่ คือสวนไม้ยืนต้น ใบเหยียบย่ำจะมีอายุ 24 เดือน เมื่อครบ 24 เดือน แล้วทำประโยชน์ได้ถึง 1 ใน 10 ของเนื้อที่ขอจับจอง ก็มีสิทธิต่ออายุใบเหยียบย่ำได้อีก 3 ปี เมื่อครบ 5 ปีแล้วสามารถทำประโยชน์ได้ถึง 1 ใน 4 ของพื้นที่ขอจับจองก็มีสิทธิขอต่ออายุใบเหยียบย่ำได้อีก 3 ปี เมื่อครบอายุใบเหยียบย่ำทั้งสองชนิดแล้วผู้ขอใบเหยียบย่ำสามารถขอให้ทางการออกแนดที่ดินให้แก่ตนได้ตามจำนวนที่ดินที่ทำประโยชน์แล้ว

5.ใบเหยียบย่ำ ออกโดยมาตรา 8 (ก) ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 โดยกรมการอำเภอเป็นผู้ออกให้ มีอายุ 2 ปี และโอนให้แก่กันไม่ได้นอกจากจะตกทอกจากมรดก

ตราหรือใบจอง

คือหนังสือสำคัญที่เจ้าหน้าที่พนักงานออกให้แก่ผู้ก่อสร้าง (ขุดโคนต้นไม้เพื่อปลูกสร้าง) ที่ดินรกร้าง ว่างเปล่า มีหลายชนิด เช่น

  • ตราจองที่ข้าหลวงกรมนาออกให้ตามพระราชบัญญัติประเมินนา จ.ศ.1236 (พ.ศ.2417) มีอายุ 3 ปี
  • ตราจองออกให้ตามประกาศขุดคลอง จ.ศ.1239 (พ.ศ.2420) เพื่อตอบแทนแก่ผู้ช่วยลงทุนหรือลงแรงในการขุดคลอง มีอายุ 5 ปี
  • ตราจองชั่วคราวที่ข้าหลวงเกษตรออกให้ตามมพระราชบัญญัติตราจองชั่วคราว ร.ศ.121 (พ.ศ.2445) มีอายุ 3 ปี และสามารถโอนให้กันได้
  • ตราจองที่ออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479ผู้ได้รับตราจองจะต้องทำประโยชน์ในที่ดินนั้นให้เสร็จภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับตราจอง ไม่เช่นนั้นจะหมดสิทธิในที่ดินในส่วนที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ โดยเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ เมื่อทำประโยชน์แล้วก็จะมีสิทธิขอรับตราจองทีตราว่า “ ได้ทำประโยชน์แล้ว ” หรือขอรับโฉนดแผนที่จากทางราชการได้

โฉนด

มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ตั้งแต่สมัยรัชการพระเจ้าอู่ทองจนถึงปัจจุบัน

1.โฉนดแผนที่

มีทั้งที่ออกตามพระราชโองการให้ออกโฉนดที่ดินมณฑลกรุงเก่าแลมณฑลกรุงเทพฯ ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) และออกตามพระราชบัญญิออกแนดที่ดิน ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) และออกตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479

2.โฉนดตราจอง

ออกโดยพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจองซึ่งประกาศให้เฉพาะในมณฑลพิษณุโลก เมื่อ ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) ซึ่งปัจจุบันก็คือ เขตจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร อุตรดิตถ์และบางส่วนของนครสวรรค์ นอกจาก 5 จังหวัดนี้แล้ว ไม่มีจังหวัดไหนที่จะออกโฉนดตราจองได้ เพราะกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจที่จะออกได้

3.โฉนดตราแดง

บางครั้งเรียกว่า “ ตราแดง ” เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินในจังหวัดกรุงเก่า อ่างทอง ลพบุรีและสุพรรณบุรี ออกให้เพื่อประโยชน์ในการเก็บค่าภาษีนาคู่โค ก่อน ร.ศ.120 (พ.ศ.2444)

4.โฉนดสวน

เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่สวนซึ่งจะปลูกผลไม้ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ในโฉนดจะระบุจำนวนและชนิดของผลไม้เพื่อเป็นหลักฐานในการเก็บภาษี โฉนดฉบับนี้มีใช้กันตั้งแต่ สมัยราชการที่ 4

5.โฉนดป่า

เป็นหนังสือสำคัญสำหรับที่สวนไม้ล้มลุกในโฉนดจะไม่มีบัญชีต้นไม้เหมือนโฉนดสวน ออกให้เพื่อเก็บภาษี

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่