กู้ร่วมซื้อบ้าน และคอนโดได้มากสูงสุดถึงแค่ไหน ? ตอนที่ 2

กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน,กู้ร่วมซื้อคอนโด,เครดิตบูโร
กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน,กู้ร่วมซื้อคอนโด,เครดิตบูโร
กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อบ้าน,กู้ร่วมซื้อคอนโด,เครดิตบูโร
กู้ร่วม,กู้ร่วมซื้อคอนโด,เครดิตบูโร

เครดิตบูโรหารเฉลี่ย

จากหัวข้อ กู้ร่วมซื้อบ้าน ข้างต้นถึงเราจะไม่ได้ไปช่วยผู้กู้หลักผ่อนชำระเต็มจำนวนก็ตาม โดยภาระหนี้จะแสดงในเครดิตบูโรทั้งของพี่และเรา โดยการรับภาระผ่อนจะหารเฉลี่ยกับจำนวนผู้กู้ทุกคน เช่น ผ่อนบ้านเดือนละ 13,000 บาท กู้ร่วม 2 คน เท่ากับว่าธนาคารจะมองว่าผู้กู้แต่ละคนจะรับภาระผ่อนคนละ 6,500 บาท (ถึงแม้ว่าเราจะตกลงกับพี่ชายเราว่า พี่เราจ่าย 70% เราจ่าย 30% ก็ตาม ธนาคารก็จะมองแบบหารเท่าตามจำนวนการผ่อนชำระเท่านั้น) โดยหากในอนาคตผู้กู้ร่วมต้องการขอสินเชื่อครั้งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการ ขอกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ ภาระผ่อนจากการกู้ร่วม จะถูกนำไปพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ในครั้งใหม่ด้วย ก็คือทำให้ความสามารถในการผ่อนสินเชื่อครั้งใหม่ลดลงไปตามจำนวนที่เราทำการผ่อนชำระก่อนหน้านี้นั่นเองค่ะ

กรรมสิทธิ์ในหลักประกันมีสิทธิ์ร่วม

โดยเมื่อธนาคารอนุมัติการกู้ร่วมซื้อบ้านแล้ว ผู้กู้ร่วมซื้อบ้านสามารถเลือกโอนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของบ้านได้ดังนี้ 1 คือใส่ชื่อคนที่ทำการร้องขอกู้ร่วมทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน  2 คือเลือกชื่อคนเดียวของผู้กู้ร่วมทั้งหมดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน  โดยปัญหาแบบที่สองจะน้อยกว่าแบบแรกถ้ามีการตกลงกันได้แต่แรก เพราะว่าในอนาคตถ้าเราต้องการขายบ้านหลังนี้ก็สามารถที่จะทำได้เลยโดยไม่ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์แบบ อย่างแรก นี้ยังไม่รวมปัญหาในกรณีที่เราเลือกกู้แบบ สามี-ภรรยา ถ้ามีการหย่าร้างหลังจากผ่อนชำระบ้านหลังนี้หมดแล้วอาจจะต้องทำการฟ้องร้อง ในชั้นศาลได้ค่ะ ดังนั้นแบบที่2คือเป็นวิธีที่ผู้กู้ร่วมเลือกใช้มากที่สุดค่ะ

ดอกเบี้ยบ้านสำหรับใช้ในการลดหย่อนภาษี

หลายๆคนอาจจะพอทราบมาบ้างแล้วว่าบ้านเรานั้นสามรถลดหย่อนภาษีได้  แต่สำหรับท่านที่ไม่ทราบเราจะมาอธิบายค่ะ  ดอกเบี้ยบ้านจากการกู้ร่วมสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยการทำการหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะขอยกตัวอย่างดังนี้ ถ้าในกรณีผู้กู้ร่วมมี 2 คน ดอกเบี้ยบ้านทั้งปีอยู่ที่ 70,000 บาท  สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 35,000 บาท แต่ถ้าในกรณีที่ดอกเบี้ยบ้านจ่ายจริงเกินเป็น 130,000 บาท  ดอกเบี้ยบ้านจะลดหย่อนภาษีได้จะอยู่ที่ 100,000 บาท เท่านั้น ไม่เกินกว่า  100,000 บาท  ด้านในกรณีที่กู้ร่วม2คนก็จะตกอยู่ที่ 50,000 บาทค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างค่ะ สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนการกู้ร่วม นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาจจะยังมีหลายๆเรื่องที่จะต้องคิดด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหากับผู้กู้ร่วมในระหว่างการผ่อนชำระหรือในกรณีที่เราอยากจะขายบ้านหลังนี้ หรือถ้าเราไม่สามารถที่จะผ่อนชำระได้ในระยะเวลาที่ตกลงกับธนาคารอาจจะเนื่องจากปัญหาสุขภาพก็ดีหรืออื่นๆ เป็นต้น

หวังว่าบทความ กู้ร่วมซื้อบ้าน จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆนะคะแล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

อ่านหน้า 1

                                                                                                                                           

Dot Property เว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ซื้อ-ขาย อย่างมืออาชีพ…

ท่านต้องการขายอสังหาริมทรัพย์อยู่หรือไม่ ลงประกาศขายกับ Dot Property ฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงประกาศง่าย ขายได้ไว
หรือหากท่านกำลังมองหา คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน เว็บไซต์ Dot Property มีให้ท่านเลือกมากกว่า 300,000 รายการ ได้ตรงตามความต้องการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย