เจาะลึก ประกาศ ควบคุมธุรกิจให้เช่า ที่พักอาศัย แก้ปัญหาเอาเปรียบผู้เช่าได้จริงหรือ…?

ที่พักอาศัย

สวัสดีค่ะหลังจากที่ สคบ. หรอ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำการ ประกาศ ควบคุมธุรกิจให้เช่า  ที่พักอาศัย แก้ปัญหาเอาเปรียบผู้เช่า จากสาเหตุที่ได้รับแจ้งปัญหาร้องเรียนจากผู้เช่า ไม่ว่าจะเป็น การทำสัญญาเอาเปรียบผู้เช่าบ้าง เก็บค่าน้ำ ค่าไฟ แพงเกินไป จึงทำให้สคบ. ได้ทำการลงดาบทำการออก ประกาศ ควบคุมธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยนี้ออกมานะดังนั้น เดี๋ยววันนี้เราไปเจาะลึก ประกาศ ควบคุมธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัย ว่าจะแก้ปัญหาเอาเปรียบผู้เช่า ได้จริงหรือไม่ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลยค่ะ

ประกาศ ควบคุมธุรกิจให้เช่า ที่พักอาศัย

ที่พักอาศัย

‌รายละเอียดที่ เกี่ยวกับผู้ประกอบการ ผู้เช่า และทรัพย์สินที่ให้เช่า

‌โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีห้องให้เช่าตั้งแต่ 5 ยูนิตขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู๋ในอาคารเดียวกัน หรือหลายอาคาร ไม่ว่าจะเป็น ห้องพัก บ้าน อาคารชุด

อพาร์ตเม้นท์ หรือสถานที่พักอาศัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่จัดขึ้นสำหรับการให้เช่าเป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก และโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม) จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศฉบับนี้

‌1. ชื่อและที่อยู่ผู้ประกอบการ และผู้มีอำนาจในการทำสัญญา

‌2. ชื่อและที่อยู่ของผู้เช่า

‌3. ชื่อและสถานที่ตั้งของอาคาร

‌4. รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพของอาคาร รวมถึงทรัพย์สินและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆของอาคาร

‌5. ระยะเวลาการเช่า (แสดงวันเร่ิ่มต้นและสิ้นสุดการเช่า)

‌6. อัตราค่าเช่า (แสดงถึงวิธีการและกำหนดระยเวลาชำระค่าเช่า)

‌7. อัตราค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นค่าน้ำประปา ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ (แสดงถึงวิธีการและกำหนดระยเวลาชำระค่าสาธารณูปโภค)

‌8. อัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการ เช่น ค่าจดปริมาตรการใช้กระแสไฟฟ้าและปริมาณ

การใช้น้ำประปา ค่าสูบน้ําเพื่อเพิ่มแรงดันน้ําประปาภายในอาคาร ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ได้จ่ายไปจริง และมีเหตุผลอันสมควร โดยแสดงวิธีการและกําหนดระยะเวลาชําระค่าใช้จ่ายดังกล่าว

‌9. อัตราค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (ถ้ามี) ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ได้จ่ายไปจริง และมีเหตุผลอันสมควร

โดยแสดงวิธีการและกําหนดระยะเวลาชําระค่าใช้จ่ายในการให้บริการดังกล่าว

‌10. จํานวนเงินประกัน

-จากด้านบนรายการ 5-9ผู้ประกอบการจะต้องส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนถึงกําหนดวันชําระค่าเช่าอาคาร โดยผู้เช่ามีสิทธิตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว ซึ่งปรากฏตามรายการในใบแจ้งหนี้ที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บ

-ผู้เช่าต้องจัดทําหลักฐานการตรวจรับสภาพอาคาร  แนบท้ายสัญญาเช่าอาคาร รวมไปจนถึง ทั้งส่งมอบหลักฐานการตรวจรับสภาพอาคาร หนึ่งฉบับให้ผู้เช่าเก็บไว้เป็นหลักฐาน

‌-เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้ประกอบการจะต้องคืนเงินประกันที่ได้รับจากผู้เช่าทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะตรวจสอบความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่ามิได้ทําความเสียหาย ให้ผู้ประกอบการคืนเงินประกันภายใน 7 วันนับแต่วันที่สัญญาเช่าสิ้นสุด และได้กลับเข้าครอบครองอาคาร โดยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการนําส่งคืนเงินประกันตามวิธีการที่ผู้เช่าแจ้งให้ทราบ

-ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนสิ้นสุดสัญญาเช่าได้ แต่จะต้องแจ้งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ ผู้เช่าต้องไม่ผิดนัดหรือค้างชําระค่าเช่า และมีเหตุจําเป็นอันสมควร

‌- การผิดสัญญาที่เป็นข้อสาระสําคัญของสัญญาเช่าที่ผู้ประกอบการมีสิทธิบอกเลิกสัญญา จะต้องเป็นข้อความที่ผู้ประกอบการระบุไว้เป็นการเฉพาะด้วยตัวอักษรสีแดงหรือตัวดําหรือตัวเอนที่เห็น เด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป และการบอกเลิกสัญญา ผู้ประกอบการจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้เช่า ปฏิบัติตามสัญญาเช่าภายในระยะเวลาอย่างน้อย 30 วันนับแต่วันที่ผู้เช่าได้รับหนังสือ และผู้เช่า ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น ผู้ประกอบการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารได้

‌- สัญญาเช่าต้องจัดทําขึ้นสองฉบับ ซึ่งมีข้อความตรงกัน และให้ผู้ประกอบการ ส่งมอบสัญญาเช่าอาคารหนึ่งฉบับให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้ลงนามในสัญญาเช่า

 

ที่พักอาศัย

สำหรับผู้ประกอบการ กับข้อห้าม 13 ข้อ ไม่ให้ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมายทำนองเดียวกัน

 

‌1. ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจํากัดความรับผิดจากการผิดสัญญาหรือการกระทําละเมิด ของผู้ประกอบการ

  1. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่า 1เดือน
  2. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าอาคาร อัตราค่าสาธารณูปโภค อัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการ และอัตราค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก่อนสัญญาเช่าอาคารสิ้นสุดลง
  3. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บเงินประกันเกินกว่า 1 เดือนของอัตราค่าเช่าเมื่อคํานวณเป็นรายเดือน
  4. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิริบเงินประกันหรือค่าเช่าล่วงหน้า
  5. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการหรือตัวแทนเข้าตรวจสอบอาคารโดยมิต้องแจ้งให้ ผู้เช่าทราบก่อนล่วงหน้า
  6. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการกําหนดอัตราค่าบริการกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา เกินกว่าอัตราที่ผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าและน้ําประปาเรียกเก็บจากผู้ประกอบการ
  7. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิกระทําการปิดกั้นไม่ให้ผู้เช่าเข้าใช้ประโยชน์อาคาร หรือมีสิทธิเข้าไปในอาคารเพื่อยึดทรัพย์สิน หรือขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่า ในกรณีที่ผู้เช่าไม่ชําระค่าเช่า หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อันเกี่ยวกับการเช่าอาคาร
  8. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกค่าต่อสัญญาเช่าอาคารจากผู้เช่ารายเดิม
  9. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารกับผู้เช่า โดยผู้เช่ามิได้ผิดสัญญา หรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสําคัญข้อหนึ่งข้อใดในสัญญา
  10. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติ ต่อทรัพย์สินและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ของอาคาร
  11. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายต่ออาคาร ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในเหตุใดอันมิใช่ความผิดของผู้เช่า และในเหตุสุดวิสัย
  12. ข้อสัญญาที่กําหนดให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องต่ออาคาร ทรัพย์สิน และ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานหรือเกิดการเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ราชกิจจานุเบกษา(http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/035/12.PDF)

 

สรุปประกาศ ควบคุมธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัย แก้ปัญหาได้จริงหรือไม่

 

โดยถ้าเราสรุป มันเหมือนจะดีแต่ถ้ามองลงไปจริงๆจะกลายเป็นผลักภาระให้กับ ลูกบ้านที่ดีอยู่และพวกประหยัด ไม่ว่าจะเป็นการพยามใช้ไฟ ใช้น้ำน้อย เพื่อประหยัดเงิน แต่ลูกบ้านที่ใช้ไฟใช้น้ำมากๆจะได้เปรียบมากกว่าเดินนั้นก็เพราะว่า

ถ้าทุกอพาร์ทเม้นท์ ต้องขึ้นค่าเช่า เพื่อเให้เป็นแบบค่าส่วนกลางคอนโดแทนนั้น ลูกบ้านทุกห้องก็จะโดน เท่าๆกัน  โดยตัวอย่าง แต่เดิมใช้ไฟแค่ 5 หน่วย จ่ายค่าไฟ 50 บาท หลัง สคบ คุม ให้ทำการจ่ายแค่ 20 บาท ประหยัดค่าไฟไป 30 บาท แต่ลูกบ้านอีกคน

ใช้ไฟเดือนละ 400 หน่วย ปกติจ่ายค่าไฟ 2,000 บาท หลัง สคบ จ่ายแค่ 1,000 บาท ประหยัดค่าไฟไป 1,000 บาท  จากนั้นผู้เช่าทำการเพิ่ม ค่าเช่าอีกห้องละ 500 บาท  ดังนั้น  ผู้เช่าที่พยามประหยัดไฟ จ่าย 20 + 600 เท่ากับ 620 บาท จากเดิม 50 บาท จ่ายมากขึ้น 590 บาท

แต่กลับกันในส่วนผู้เช่าที่ใช้ไฟมากเพื่อความสะดวกสะบาย จ่าย 1,000 + 600 จากเดิม จ่าย 2000 เหลือ 1,600 บาท  และนอกจากนี้ผู้เช่าก็อาจจะเพิ่ม การแยกสัญญาเช่าห้องกับเฟอร์นิเจอร์ หรือในอนาคตอาจจะมีแต่ห้องว่างเปล่าๆก็เป็นได้หรือ อาจจะต้องใช้วิธีการหาบุคคลที่สามมาค้ำประกัน ในกรณีที่ผู้เช่าหัวหมอ

ไม่จ่ายเงินในกรณีที่ครบกำหนดแล้วหนีไปเลย เพราะว่าพรบ.นี่เปิดช่องให้อยู่ฟรีสองเดือน ค่าไฟรัฐเก็บเราแพง ยูนิตนึงหกบาทขึ้นแถมกระโดดตามการใช้ (ซึ่งมันก็คือคนเช่านั้นแหละที่ใช้) กลับกันผู้ให้เช่าจะต้องแบกภาระตั้งอัตตราแบบนิ่ง แถมทำแพงกว่าเผื่อขึ้นไม่ได้ นอกจากนี้ห้องพักเสียหายโดยที่ผู้เช่าไม่สามารถเรียกเก็บได้

ดังนั้นสุดท้ายแล้ว ภาระต่างๆก็ยังคงตกไปอยู่ที่ผู้เช่าหรือลูกบ้านที่ดีๆ อีกเช่นเคยค่ะ  ท่านผู้อ่าน    จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า เป็นการผลักภาระให้กับลูกบ้านที่พยามประหยัด ไปรับภาระเพิ่ม เป็นผลดีกลับพวกผู้เช่าหัวหมอหรือผู้เช่าที่เอาเปรียบ  ด้านผู้ปล่อยเช่าอาจจะเเย่ช่วงแรกๆแต่พอผ่านไปสักระยะผู้ปล่องเช่าห้อพักคงคิดวิธีจะเอา

เงินที่เสียไปมาทดแทนได้ อาจจะปรับขึ้นค่าห้องแทนหรืออาจจะได้ห้องพักที่ไม่ได้คุณภาพนั้นเองค่ะ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่