เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เอกสารสิทธิที่ดิน ก่อนตัดสินใจทำการซื้อขาย

เอกสารสิทธิที่ดิน

การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มี เอกสารสิทธิที่ดิน นั้นมีอยู่ด้วยกัน กรณีที่คล้ายคลึงกันแต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง คือ

  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่ที่ดินตั้งอยู่
  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีหนังสือการรับรองการทำประโยชน์ จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายเว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่

เอกสารสิทธิที่ดินเอกสารสิทธิที่ดิน ออกโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่กรมที่ดิน

โดยเอกสานทั้งหมดที่ออกโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่กรมที่ดินเหล่านี้เป็นเอกสารสิทธิประเภทที่มีข้อจำกัดในเรื่องการถือครองผูกติดอยู่ด้วย เช่น ข้อจำกัดในการโอน ข้อจำกัดในการทำประโยชน์ ซึ่งเอกสารสิทธิเหล่านี้มักนิยมใช้กันในวงแคบไม่แนะนำให้มาใช้ในการลงทุน ซื้อขาย เปลี่ยนมือ หรือธุรกรรมในเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันเอกสารสิทธิที่ดินเหล่านี้ เริ่มมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากนโยบายของรัฐที่มาจากโครงการเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นทุน ที่เปิดโอการให้นำเอกสารเหล่านี้มาเป็นหลักประกันเงินกู้ได้

ส.ป.ก.4-01

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หนังสืออนุญาติให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ออกตาม พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) คำว่า ส.ป.ก.4-01 หมายถึง โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เลข 4 หมายถึง กองนิติการ และ01 คือลำดับหมายเลขแบบพิมพ์ ถ้าลำดับความเป็นมาของเอกสารสิทธิประเภท ส.ป.ก.4-01 อาจจะกล่าวได้ว่า มีจุดกำเนิดในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยมีกลุ่มชาวไร่ ชาวนา นักศึกษา นักการเมือง เดินขบวน เพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินและปัญหาถูกนายทุนเอาเปรียบ

รัฐบาลสมัย ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมเกิดขึ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2518  โดยผ่านทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินฯ เพื่อช่วยให้เกษตรกรรมมีที่ดินใช้ทำประโยชน์ช่วคราว รายละไม่เกิน 50 ไร่ ทางราชการจะไม่มีแนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญตามประมวลกฎหมายที่ดินให้แก่ผู้ถือสิทธิ แต่จะออกหนังสือ ส.ป.ก.4-01 ไว้ให้แทน และจะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ใดได้ ยกเว้นเป็นการตกทอดจาดมรดก แก่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น

เอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 จึงไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพราะผู้ได้รับเอกสาร มีฐานะเป็นเพียงผู้ได้รับอนุญาติให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ผู้ที่ได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินนี้ มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำการเกษตรเต็มพื้นที่ ห้ามให้เช่าหรือซื้อขายเปลี่ยนมือกันเอง ถ้าไม่ต้องการทำกินต่อไปจะต้องส่งคืนให้ ส.ป.ก. จังหวัด สำหรับผู้ที่มีสิทธิขอรับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินตามที่กฎหมายระบุ ได้แก่คน 3 ประเภทนี้ คือ

  1. เกษตรกร

1.1ผู้ที่ใชเวลาส่วนใหญ่ในการประกิบอาชีพเกษตรกรรมเป็หลัก และต้องไม่มีที่ดินทำมาหากินเป็นของตนเอง หรือมีเล็กน้อยไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ

1.2ผู้ที่จะประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ผู้ที่ยังไม่เป็นเกษตรกรแต่ต้องการที่จะเป็นเกษตรกรและมาขอรับการจัดที่ดิน อาจหมายถึงคนยากจน หรือผู้ที่จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือ บุตรของเกษตรกร และต้องไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และไม่มีอาชีพอื่นที่มีรายได้ประจำเพียงพอแก่การยังชีพอยู่แล้ว

โดยคนจนในที่นี้หมายถึง ผู้มีรายได้ไม่สูงกว่า 15,000 บาทต่อคนต่อปี ส่วนผู้ที่จบการศึกษาทางเกษตรกรรมหมายถึงผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าในประเภทวิชาเกษตรกรรม

  1. สถาบันเกษตรกร
  2. ผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

3.1กิจการสาธารณูประโภคและกิจการอื่นๆ เช่น ฝาย คลอง สระน้ำ ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์

3.2กิจการอื่นๆที่เป็นการสนับสนุนและเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน เช่น ลานตากมัน ไซโล ยุ้งฉาง กิจกรรมต่างๆและที่อยู่อาศัยในชุมชน

3.3กิจการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่นๆ เช่น การทำเหมืองแร่ ขุดดินลูกรัง ระเบิดย่อยหิน

สำหรับลักษณะการดำเนินงานการจัดที่ดินให้เกษตรกรของ ส.ป.ก. ในปัจจุบันอาจแยกได้เป็น 2 กรณีด้วยกันคือ

การจัดการในที่ดินของรัฐ

ที่ดินของรัฐที่นำมาปฏิรูปที่ดินส่วนใหญ่มีผู้ถือครองทำกินอยู่เต็มพื้นที่ การจัดที่ดินของ ส.ป.ก. จะจัดในรูปแปลงเดิมที่ถือครอบครองทำกินอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • รังวัด ตรวจสอบการถือครองที่ดิน โดย ส.ป.ก. จังหวัด มีหนังสือนัดผู้ถือครองเดิมนำชี้ขอบเขตแปลงที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่
  • สอบสวนสิทธิการถือครอง เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการทำประโยชน์ ระยะเวลาที่ถือครอง จำนวนคนภายในบ้านที่ใช้ที่ดินร่วมกัน ฯลฯ
  • กระจายสิทธิการถือครอง ส.ป.ก. จะดำเนินการในกรณีที่ถือครองที่ดินเกินกว่ากฎหมายกำหนดโดยผู้ถือครองเดิมจะต้องพิจารณาสมัคใจที่จะยกให้หรือลดขนาดที่ดินลง เพื่อนำที่ดินส่วนเกินไปจัดให้แก่เกษตรกรรายใหม่ ซึ่งจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ผู้ถือครองเดิมตามอัตราที่ ส.ป.ก. กำหนด
  • คัดเลือกเกษตรกรตามระเบียบที่กำหนด โดย ส.ป.ก.จังหวัดจะประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์รวมทั้งคำร้องขอมีสิทธิรับการจัดที่ดินตามที่ถือครอง แต่ไม่เกิน 100 ไร่ ในกรณีที่ถือครองที่ดินมากก่อน พ.ศ.2524 ส.ป.ก.จังหวัดจะรวบรวมรายชื่อเกษตรกรตามคำสั่งคณะอนุกรรมการระดับอำเภอ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่านในท้องที่นั้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกเกษตรและส่งรายชื่อให้คณะกรรมการระดับจังหวัด ผลการคัดเลือกจะปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน ที่ศาลากลางจังหวัด ส.ป.ก.จังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการ อบต. และชุมชนในท้องที่นั้น ถ้าไม่พอใจผลการพิจารณามีสิทธิที่จะอุทธรณืได้
  • จักเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน โดยให้เกษตรกรลงชื่อในหนังสือรับมอบที่ดิน (ส.ป.ก.4-28) และออกหนังสืออนุญาติมห้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) และมอบให้แก่เกษตรกรไว้เป็นหลักฐาน

คราวหน้าเราจะมาต่อกันในเรื่องของ การจัดการที่ดินเอกชนกันนะครับ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่