ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง แบบละเอียด รับรองจบเเน่นอนไม่มีค้างคา!!!

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง

สวัสดีค่ะ จากเมื่อวานที่เราได้บอกเกี่ยวกับหลักการยื่นกู้ซื้อบ้านยังไงให้ธนาคารปล่อยไปแล้ว โดยในวันนี้จะมาแนะนำเทคนิคเล็กๆน้อยในการตรวจรับบ้านกันบ้างค่ะ สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านตามโครงการจัดสรรต่างๆ หรือ ตามคอนโดมิเนียม เพื่อจะได้เป็นแนวทางหรือนำไปปรับใช้ให้ตรงตามความต้องการหรือการไปตรวจรับบ้านจริงๆที่คุณกำลังจะได้เป็นเจ้าของ ซึ่งเทคนิคนั้นมีหลากหลาย มีหลายวิธี ซึ่งบางคนอาจเคยอ่านๆผ่านตากันมาบ้างหรือบางคนมีประสบการณ์หรือแม้แต่การจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างไปช่วยดูให้ แต่ถ้าคุณไม่มีสักอย่างที่กล่าวมา จะทำยังไงได้บ้างลองดูกันว่าคุณจะทำยังไงกับการ ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง ให้ได้บ้านที่ไม่มีปัญหาหรือมีปัญหาน้อยที่สุดเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง แบบละเอียดยิบ

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง-1อย่างแรกที่แนะนำให้พกติดตัวไปในวันรับบ้าน ไขควงเช็คไฟ กล้องถ่ายรูป (หรือใช้โทรศัพท์ถ่ายก็ได้) ไฟฉาย โทรศัพท์บ้าน(แบบไม่ต้องเสียบปลั๊ก) กระดาษชำระ เหรียญ 10 บาท ลูกแก้วหลายๆลูก ถังน้ำ กระดาษปากกา อย่าเพิ่งสงสัยว่าทำไมต้องเตรียม เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยคุณตรวจสอบในการรับบ้านได้ เมื่ออุปกรณ์พร้อมก็ลุยกันต่อ โดยการไปตรวจบ้านนั้นควรไปเวลากลางวันเพราะจะมองเห็นได้ชัดเจนและไม่ควรเชื่อพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ว่าทุกอย่างดีหมด ต้องเห็นด้วยตาจับด้วยมือเราเท่านั้น เมื่อก้าวเข้าไปในบ้านที่เราซื้อไว้นั้นอันดับแรก เปิดไฟในห้องแรกที่เราเข้าไปแม้เป็นกลางวันก็ต้องเปิดเพื่อเช็คระบบไฟว่าทำงานได้ดีหรือไม่และเปิดทิ้งไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ เปิดทุกห้องไม่เว้นแม้แต่หน้าบ้าน หลังบ้านหรือห้องน้ำ ต่อไปให้ใช้ไขควงเช็คไฟจิ้มเช็คทุกปลั๊กว่าสามารถใช้งานได้ไหม ไฟเข้าหรือเปล่าหรือลองนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็กๆติดไป ลองเสียบเลยก็ยังได้ พนักงานจะว่ายังไงไม่ต้องแคร์ เพราะเราคือคนที่ซื้อและจ่ายเงิน ทีนี้นำโทรศัพท์บ้านที่นำไปด้วย ลองเสียบและเช็คสัญญาณดูเลยว่ามีหรือไม่ใช้งานได้จริงหรือเปล่าและในห้องต่างๆ สายไฟเดินได้เรียบร้อยไหม มีสายสำหรับให้เราต่ออุปกรณ์อื่นเข้าด้วยหรือเปล่า เช่น ห้องน้ำต้องมีสายสำหรับติดเครื่องทำน้ำอุ่นหากไม่มีแถมให้ การเดินสายต่าง ๆ เก็บเรียบร้อยดีไหม ท่อร้อยสายต่างๆ สมบูรณ์ไหมและปลั๊กไฟนอกบ้านเป็นแบบมีฝาปิดป้องกันน้ำเข้าหรือเปล่าและตรวจทุกๆห้องแบบเดียวกันหมดสำหรับระบบไฟ ไล่ไปทีละห้องจนครบ พร้อมกับดูอย่างอื่นไปด้วยพื้นห้อง ต้องเรียบเสมอกัน หากคุณใส่ถุงเท้าแนะนำให้เอาเท้าลากพื้นไปให้ทั่วๆสังเกตว่ามีอะไรสะดุดเท้าไหมหรือจะใช้วิธีเด็กๆเลยคือสไสด์ตามพื้นเลย หากเรียบเสมอคุณจะสไลด์ได้ลื่นเรียบไม่สะดุดและหากเป็นพื้นห้องที่ไม่ใช่ห้องน้ำ เช็คเลยว่าพื้นแน่นหนาแค่ไหนหากเป็นกระเบื้องเอาเหรียญ 10 สุ่มเคาะที่กระเบื้องพื้น ฟังเสียงว่าแน่นหรือโปร่ง ดูการปูกระเบื้องว่าเสมอได้ระดับตรงทั้งหมดไหม มีตรงไหนเป็นแอ่งหรือไม่ ตามขอบเก็บสนิทหรือเปล่า ค่อยๆไล่ไปตามแนวกระเบื้องได้เลยและลูกแก้วให้เทลงพื้นและดูการกลิ้งของลูกแก้วหากไปกองรวมกันตรงไหนนั่นคือระดับของพื้นไม่เสมอกัน หากไม่ใช่ห้องน้ำหรือระเบียงแน่นอนว่ามันต้องไม่ลาดเอียงอย่างแน่นอนหรือพื้นเป็นหลุมก็ต้องให้แก้กันใหม่ และ หากเป็นพื้นไม้ก็ต้องดูว่าเรียบสนิทเท่ากันหรือไม่ ลาดเอียงหรือเปล่าเช็คแบบเดียวกับกระเบื้องและ ความสะอาดต้องดูด้วยว่ามีคราบสกปรกของปูนหรือกาวยาแนวและคราบอื่นๆด้วย และนี่คือคำแนะนำเบื้องต้นแค่สองอย่างที่ต้องดูเพื่อให้เป็นแนวทางและยังมีจุดอื่นๆอีกซึ่งจะมาแนะนำในครั้งต่อไป เพื่อให้เป็นความรู้ประโยชน์สำหรับการตรวจรับบ้านที่หลายๆคนกำลังจะมีบ้านในฝันได้ทราบเบื้องต้น

ระบบประปาเรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้ามไป

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง-2ระบบประปา อันดับแรกก็ให้เปิดน้ำจากทุกจุดภายในบ้านว่าน้ำประปาไหลแรงมากน้อยแค่ไหน ก๊อกทุกตัวใช้งานได้หรือไม่และหากมีปั๊มน้ำก็ให้เปิดปั๊มน้ำด้วยเพื่อตรวจสอบว่าใช้งานได้ดีแค่ไหนและน้ำแรงพอสำหรับการใช้งานพร้อมๆกันทุกจุดหรือไม่ ท่อระบายน้ำตามจุดต่างๆใช้งานได้ดีแค่ไหน มีอะไรอุดตันหรือไม่ น้ำไหลได้สะดวกหรือเปล่า พวกอ่างล้างหน้า ล้างมือ อ่างอาบน้ำ หรืออ่างล้างจานให้เปิดน้ำให้เต็มจนล้นเพื่อดูว่าช่องระบายน้ำใช้งานได้ไหม เมื่อน้ำเต็มอ่างให้เปิดจุกระบายน้ำและดูว่าหากมีฟองอากาศผุดขึ้นมาต้องให้ช่างแก้ไขเพราะนั่นหมายถึงท่ออากาศทำงานได้ไม่ดี อาจเล็กเกินไป หรือ ระบายน้ำได้ไม่หมดก็แสดงว่าท่อระบายมีปัญหา หากมีน้ำขังแสดงว่าการลาดเอียงของพื้นไม่ดีพอ ชักโครกก็ต้องทดสอบโดยการกดน้ำเพื่อดูความแรงของน้ำ เราอาจใช้กระดาษ หรือ ขนมปังแผ่นๆ ขยำใส่ลงไปและกดน้ำดูว่าทุกอย่างที่เราใส่ลงไปหายไปในการกดครั้งเดียวหรือไม่ พื้นห้องน้ำ ให้นำน้ำใส่ถังแล้วราดลงพื้นดูว่าน้ำไหลไปทางท่อระบายน้ำได้ดีแค่ไหน มีน้ำขังหรือไม่ หากมีน้ำขังคือพื้นลาดเอียงไม่ดีไม่ได้ระดับก็ต้อให้แก้ไขเมื่อตรวจสอบจนมั่นใจแล้วก็ให้ปิดน้ำทุกจุดให้หมดปิดปั๊มน้ำ และ ดูว่ามิเตอร์ยังทำงานหรือไม่ หากมิเตอร์ยังหมุนก็ต้องตรวจสอบว่าน้ำตรงจุดไหนรั่วหรือมีการไหลของน้ำอยู่ ต่อมาเราก็มาดูประตู หน้าต่าง ตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของบานประตู หน้าต่าง ดูวงกบว่าติดแน่นหนาเรียบสนิทไปกับผนังหรือไม่ มีรอยรั่วหรือรอยอื่นๆหรือไม่ การเปิดปิดทำได้ดีสะดวกไหม ปิดได้สนิทและเปิดได้สุดหรือเปล่า เมื่อปิดแล้วต้องดูว่าแน่นหนาพอไหม มีช่องว่างระหว่างบานกับวงกบหรือไม่ มีอาการบวมของวงกบหรือไม่ (หากเป็นไม้) การปิดล็อกสามารถล็อกได้สนิทจริง กลอนประตู หน้าต่าง บานพับ มือจับ อยู่ในสภาพแน่นหนา ไม่มีรอยเลอะต่างๆหรือประตูเลื่อนต้องเลื่อนได้ลื่นไหลไม่สะดุด และ ต้องปิดได้สนิท มุ้งลวด เหล็กดัด (หากมี) ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีรอยรั่ว การเปิดปิดทำได้ดี เหล็กดัดควรเป็นแบบเปิดได้และช่องห่างระหว่างลวดลายไม่สามารถเอามือล้วงมาเปิดกลอน หรือ ถอดออกได้ง่ายๆ ต้องติดตั้งแน่นหนาที่กล่าวมาคืออีกสองจุดสำคัญในการตรวจรับบ้าน ซึ่งสามารถใช้ได้ในการตรวจรับบ้านของเราและแม้จะดูวุ่นวาย เรื่องมาก แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรทำเพราะบ้านไม่ใช่ของราคาถูกๆที่จะมองด้วยตาเปล่าแล้วให้ผ่าน ต้องมีการทดสอบต่างๆ ตามแต่ใครจะมีวิธียังไงและอยากแนะนำอีกสักนิด ควรมีเวลาในวันที่นัดตรวจบ้าน แบบว่างทั้งวันให้เวลากับการตรวจบ้าน แม้ว่าพนักงานจะเร่งก็เชิญให้เขาไปทำธุระอื่นๆให้เสร็จแล้วกลับมาหาเราก็ได้ เพราะบ้านของเรา เงินเราจ่าย เราต้องตรวจให้แน่ใจว่าบ้านพร้อมที่สุดและอีกประการคือ หากบ้านยังทำไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ไม่ต้องไปตรวจ ยืนยันว่าต้องเสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น

ผนังบ้านอย่ามองแค่ผิวเผินโดยเด็ดขาดนะคะ

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง-3ผนังบ้าน ซึ่งหากมองผิวเผินส่วนใหญ่มักดูความเรียบร้อยของ สี หรือ หากปูกระเบื้อง หรือติดวอลล์เปเปอร์ ก็จะดูแค่ความเรียบร้อย การฉาบเรียบสนิททั่วหรือไม่ การติดวัสดุผนังต่างๆ แน่นหนาแค่ไหน แต่อีกวิธีที่แนะนำคือ ให้เอาหน้าแนบกับกำแพงแล้วมองตามแนวกำแพงว่าเรียบเสมอกันไหม ได้ฉากขนานไปกับพื้นหรือไม่ รอยร้าวรอยแตกต่างๆ สามารถใช้ไฟฉายส่องได้เพราะบางรอยอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซอกมุมต่างๆมีขี้ปูนเกาะอยู่หรือเปล่าและไม่ควรมีร่อง รู เสา หรือ คาน ต้องเรียบสนิทไม่มีรอยร้าวต่างๆ แล้วใช้เหรียญสิบเคาะดูตามผนังว่าเสียงหนักแน่นหรือเสียงโปร่งหากติดกระเบื้องที่ผนัง แสดงว่าใส่ปูนไม่เต็ม หากมีการติดบัวหัวเสาก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่าแน่นหนา ติดได้เรียบร้อยหรือเปล่าด้วยเพดานต้องสังเกตว่ามีรอยหรือคราบน้ำที่หยดมาจากหลังคาด้วยหรือเปล่า หากใช้ฝ้าแขวนการยึดติดต่างๆแน่นหนาเรียบร้อยดีไหม หากเป็นการฉาบก็ต้องดูว่าเรียบสนิททั่วทั้งเพดาน การติดบัว หรือ เล่นระดับต่างๆ ฉากมุมสวยงามเรียบร้อยดีหรือไม่ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่ติดบนเพดานติดได้เรียบร้อยหนาแน่น และ แสงไฟส่องสว่างตามที่ต้องการ หลังคาเป็นอะไรที่ตรวจสอบยากสักนิด เพราะบางครั้งอาจต้องรอให้ฝนตกถึงจะทราบว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ซึ่งในจุดนี้นั้นบางโครงการก็จะมีการรับประกันให้ ส่วนการตรวจสอบที่ทำได้คือ การดูตามชายคาว่ากระเบื้องต่างๆวางได้แน่นสนิทปิดรอบชายคาครบรอบ้าน ไม่มีรอยร้าวของกระเบื้อง รางน้ำติดตั้งแน่นหนา ความลาดเอียงได้ระดับเพื่อเวลาระบายน้ำจะไม่มีปัญหา รอบๆบ้านตรวจสอบทั้งตัวบ้าน รั้วต่างๆ ต้องไม่มีร่องรอยทรุดหรือร้าว เสารั้วแน่นหนา รั้วไม่มีสนิมมีความแข็งแรงทนทานนอกจากนี้การขอใบรับประกัน แบบแปลน เป็นอีกเรื่องต้องให้ความสำคัญ และ ต้องถ่ายรูปทุกจุดที่ตรวจ รายละเอียดต่างๆที่มีปัญหาต้องจดให้ครบและเก็บไว้เอง พร้อมส่งให้ทางโครงการทำการแก้ไขและเข้าตรวจสอบเมื่อแก้ไขเสร็จและสิ่งสำคัญคือ ไม่รับโอนหรือเซ็นต์รับว่าบ้านเรียบร้อย หากยังไม่ได้มีการปรับปรุง ไม่ว่าพนักงานจะอ้างเหตุผลต่าง ๆ เช่น “ เซ็นต์รับไปก่อนจะได้โอนไวขึ้น หรือ เอกสารยื่นกู้ผ่านไว แล้วเรื่องแก้ไขโครงการทำให้แน่นอน “ ซึ่งไม่ว่าเหตุใดก็ตามไม่ควรเซ็นต์อย่างยิ่ง เพราะบ้านของเรา เราก็ต้องตรวจสอบให้ดี และ ต้องการให้บ้านออกมาดีที่สุด ไม่มีปัญหาหรือมีปัญหาน้อยที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกโครงการก็มีส่วนสำคัญ อย่าเห็นแค่ราคาถูก ควรมองถึงชื่อเสียงโครงการ การรับประกัน หรือ การบริการหลังการขาย คุณภาพของโครงการทีผ่านมาด้วย เพื่อที่จะไม่ต้องมาเสียดายหรือเสียความรู้สึกในภายหลังว่าไม่น่าซื้อบ้านโครงการนี้เลย

ทริคง่ายๆกับการตัวรับบ้านสำหรับแม่บ้านอย่างเราๆ

ตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง-4เริ่มแรกเตรียมอุปกรณ์จดบันทึกโดยเตรียมไว้เพื่อทำการบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นกับบ้านของเรา สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ กล้องถ่ายรูป, ปากกา, กระดาษ เป็นต้น จากนั้นก็เตรียม ตลับเมตรเพื่อที่จะเอาไว้วัดขนาดพื้นที่ของบ้าน ว่าตรงตามขนาดที่กำหนดไว้ตอนแรกหรือไม่..! ไม้แข็ง1ด้ามเอาไว้เป็นอุปกรณ์ตรวจเช็คการปูพื้น-ผนัง ว่ามีตรงไหนที่กลวงหรือเป็นโพรงบ้างหรือเปล่าจากนั้นก็อย่างลืมถังใส่น้ำเพื่อที่สำหรับเอาไว้ใส่น้ำราดพื้น ทดสอบความลาดชันของพื้นและระบบระบายน้ำ บันไดและไฟฉาย โดยบันไดอาจจะให้คุณพ่อบ้านเอามาให้เราแทนโดย ไว้ใช้ตรวจเช็ครอยรั่วบนหลังคาหรือความสมบูรณ์ของการปูกระเบื้องหลังคา ฝ้า จากนั้น ลองใช้ดินน้ำมันอุดรูระบายน้ำ แล้วเปิดน้ำขังไว้ เพื่อดูการรั่วซึมภายในห้องน้ำ หรือระเบียง ส่วนกระดาษทิชชู เอาไว้ใช้ทดสอบความสมบูรณ์ของชักโครกส่วนไขควงวัดไฟสำหรับเรื่องนี้ถ้าเป็นคุณผู้หญิงที่พอมีความรู้เราก็อยากจะแนะนำให้พกไปด้วยนะคะเพราะว่าจะช่วยใช้สำหรับสำรวจตู้ไฟ และเบรกเกอร์ แต่ถ้าไม่มีความรู้ก็แนะนำให้เรียกหรือให้คนส่งบ้านช่วยตรวจสอบให้ค่ะ

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่