กรมบังคับคดี กับ “ การจำหน่ายทรัพย์สิน ” ตอนที่ 2

การจำหน่ายทรัพย์สิน

เรามาต่อกันเลยจากตอนที่แล้วกับ “ การจำหน่ายทรัพย์สิน ” ที่เราได้พูดถึงไปแล้วว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่ดำเนินการต่อจากการยึดทรัพย์ โดยแบ่งการจัดการทรัพย์นั้นออกได้เป็น 2 กรณี ทั้งการเอารายได้จากทรัพย์สินแทนการขายทอดตลาด , การขายทอดตลาดและการประมูล เป็นต้น

เหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดี

ในการขายทอดตลาดอาจมีเหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการขายทอดตลาด ดังนี้

  1. เมื่อมีการถอนการยึดทรัพย์ โดยเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์ขอถอนการยึดทรัพย์ หรือลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา และชำระของผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ที่ศาลมีคำสั่งแล้ว พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายครบถ้วน
  2. ศาลสั่งงดการบังคับคดี
  3. เจ้าหนี้ของดการบังคับคดี โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกหนี้และบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี
  4. กรณีบุคคลภายนอกอ้างว่าทรัพย์ที่ขายไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ และได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น
  5. เหตุอื่นๆ เช่น ส่งประกาศขายให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียยังไม่ครบถ้วน หากดำเนินการขายทอดตลาด อาจทำให้การขายทอดตลาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี

ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีกับทรัพย์สิน อันได้แก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับลูกหนี้ เจ้าหนี้บุริมสิทธ์หรือเจ้าหนี้ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว หรือคู่สมรสลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งที่อนุญาคให้กันส่วนแล้ว รวมถึงผู้ซื้อทรัพย์ได้แล้วไม่วางเงินชำระส่วนที่เหลือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี มีคำสั่งให้ลิบเงินมัดจำแล้วนำทรัพย์ออกขายใหม่ ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนต้องไปดูแลการขายทอดตลาดตามกำหนดวันทุกครั้ง หากผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถไปดูแลการขายทอดตลาด อาจมอบอำนาจให้แก่บุคคลอื่นไปดูแลการขายแทนก็ได้

ผู้สนใจซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด

  1. การเตรียมตัวก่อนเข้าประมูลซื้อทรัพย์

ก่อนเข้าสู้ราคา ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อตามสถานที่และแผนการที่ปรากฏในประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์นั้นโดยละเอียดครบถ้วนแล้ว และควรตรวจสอบวัน เวลา และสถานที่ ตลอดจนเงื่อนไขในการชำระเงิน การวางเงินหลักประกันให้ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง หรือท่านสามารถตรวจสอบจากประกาศที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศไว้ ณ กรมบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีแพ่งและสาขา

  1. หลักฐานที่จะต้องนำมาในวันประมูล

2.1 กรณีบุคคลธรรมดาเป็นผู้ซื้อ ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรพนักงานัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือเดินทาง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ฉบับ

2.2 กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ซื้อต้องส่งหนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน

2.3 กรณีประสงค์ให้บุคคลอื่นเข้าประมูลแทน ต้องมีใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท และมีหลักฐานตามข้อ 2.1 ของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ หากมิได้แสดงใบมอบอำนาจก่อนจะถือว่าผู้เข้าสู้ราคาผู้นั้นกระทำการในนามของตนเอง

2.4 เงินสดหรือแคสเชียร์เช็คสั่งจ่ายหน่วยงานตามที่กำหนดไว้ในประกาศขายทอดตลาด เพื่อใช้เป็นหลักประกันการเข้าสู้ราคา เว้นแต่

1) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคำพิพาก

2) ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายตามคำชี้ขาดศาล

3) คู่สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว

การจำหน่ายทรัพย์สินวิธีการประมูลซื้อทรัพย์

3.1 กรณีประมูลซื้อทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุด/ฯลฯ)

3.1.1 ผู้เข้าสู้ราคาต้องวางหลักประกันการเข้าเสนอราคาเป็นจำนวนตามที่กำหนดในประกาศขายทอดตลาด การวางหลักประกันอาจวางเป็นเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือใช้วิธีทำรายการผ่านระบบ EDC ต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เว้นแต่ผู้เข้าสู้ราคานั้น

  • ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทผู้ซื้อ ประเภทผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคำพิพากษา
  • ผู้มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาซื้อ ประเภทเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายตามคำชี้ขาดของศาล
  • สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาติให้กันส่วนแล้ว

3.1.2 ผู้เข้าสู้ราคา เมื่อวางเงินหลักประกันแล้ว จะได้รับป้ายประมูลราคาเพื่อใช้สำหรับเสนอราคา จากนั้นเข้าไปนั่งในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้

3.1.3 การขายทอดตลาดแต่ละครั้ง ราคาเริ่มต้นในการขายทอดตลาด ในกรณีที่ราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ ในกรณีที่ไม่มีราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ แต่มีราคาประเมินของฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ และราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาฝ่ายประเมินทรัพย์ ในกรณีไม่มีราคาของคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์และราคาประเมินของฝ่ายประเมิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีพิจารณาจากราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง

3.1.4 เมื่อไม่มีผู้ให้ราคา เจ้าพนักงานบังคับคดี จะถอนทรัพย์สินออกจากการขายทอดตลาด เมื่อมีผู้ให้ราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการขายทอดตลาดจนได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขานราคาและนับหนึ่ง 3 ครั้ง ขานราคาและนับสองอีก 3 ครั้ง และหากไม่มีผู้ให้ราคาสูงกว่านนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขานราคานับสามพร้อมเคาะไม้ขายให้กับผู้เสนอราคาสูงสุดังกล่าว

3.1.5 หากผู้เข้าสู้ราคาประมูลซื้อทรัพย์ไม่ได้ก็สามารถขอรับเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คที่วางไว้ หรือขอคืนเงินที่วางผ่านระบบ EDC คืนได้ทันที

3.2 กรณีประมูลซื้อทรัพย์สังหาริมทรัพย์ (สิ่งของ)

เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดปักธงหมากรุกบนทรัพย์ชิ้นใด ถือว่าจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์ชิ้นดังกล่าว และเมื่อมีผู้เสนอราคาสูงสุดเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขานคดีและนับหนึ่ง 3 ครั้ง ขานราคานับสองอีก 3 ครั้ง และหากไม่มีผู้ให้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขานนับ 3 พร้อมกับเคาะไม้ขายให้ผู้เสนอราคาสูงสุดดังกล่าว

การจำหน่ายทรัพย์สิน

  1. การปฏิบัติเมื่อประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด

4.1 ทรัพย์ที่ประมูลซื้อได้เป็นอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง/ห้องชุด/ฯลฯ)

4.1.1 ผู้ซื้ออาจชำระอาจจะชำระเงินตามราคาที่ประมูลทรัพย์ ให้ครบถ้วนในวันซื้อก็ได้

4.1.2 หากผู้ซื้อไม่สามารถชำระราคาตามข้อ 4.1.1 ผู้ซื้ออาจทำสัญญาซื้อขายโดยให้ถือว่าตามหลักประกันตามเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคาและผู้ซื้อจะต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วันที่ซื้อทรัพย์เป็นต้นไป

สำหรับการชำระราคาส่วนที่เหลือ หากผู้ซื้อขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือไม่สามารถนำเงินที่เหลือมาชำระได้ทันภายใน 15 วัน ผู้ซื้อทรัพย์สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการวางเงิน โดยมีหนังสือขอขยายระยะเวลาการวางเงินของสถาบันการเงินแสดง หรือกรณีมีเหตุอันสมควร อาจยื่นคำร้องแสดงเหตุผลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ รายได้ ความเกี่ยวพันกับคู่ความ และแหล่งเงินได้ หรือ เงินกู้ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจขยายระยะเวลาการชำระเงินส่วนที่เหลือได้อีกไม่เกิน 3 เดือน

4.1.3 เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระราคา ไม่ว่ากรณีใดๆ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะริบเงินมัดจำ และจะนำทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดใหม่ หากได้เงินสุทธิต่ำกว่าที่ผู้ซื้อให้ราคาไว้ในครั้งก่อน ผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบชำระเงินในส่วนที่ขาดอยู่

4.1.4 เมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วนตามข้อ 4.1.1 หรือ 4.1.2 แล้ว สามารถขอรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กับเจ้าพนักงานที่ดินได้ทันที และในกรณีที่ซื้อที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญที่ดิน ใบเสร็จรับเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ย่อมเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาด

4.1.5 หากผู้ซื้อเป็นผู้รับจำนองซึ่งศาลมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว หรือเป็นผู้มีชื่อร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่ดินที่ซื้อได้ หรือเป็นผู้มีส่วนได้จากกองมรดกตามคำพิพากษาในคดีที่เข้าประมูลซื้อทรัพย์ หรือคู่สมรสที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนแล้ว ก็มีสิทธิขอหักส่วนได้ใช้แทนโดยทำสัญญาซื้อขายและวางเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาเริ่มต้น (เงินตามหลักประกันการเข้าสู้ราคา) ได้โดยไม่ต้องชำระราคาตามข้อ 4.1.1 หรือ 4.1.2 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักส่วนได้ใช้แล้ว ยังมีส่วนขาดอยู่เท่าใด ผู้ซื้อจะต้องมีหน้าที่ชำระราคาให้ครบ แล้วจึงจะดำเนินการตามข้อ 4.1.4 ได้

4.2 ทรัพย์ที่ประมูลซื้อได้เป็นสังหาริมทรัพย์(สิ่งของต่าง)

4.2.1 ผู้ซื้อต้องชำระราคาเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเต็มจำนวนทันที พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม(ถ้ามี) เว้นแต่จะกำหนดเงื่อนไขในการชำระราคาไว้เป็นอย่างอื่น

4.2.2 นำใบเสร็จรับเงินพร้อมหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจมาแสดง เพื่อขอรับมอบทรัพย์

4.2.3 หากทรัพย์ที่ซื้อได้นั้นจะต้องมีใบอนุญาตครอบครองหรือขนย้ายของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เช่น อาวุธปืน สุรา เป็นต้น ผู้ซื้อจะต้องแสดงใบอนญาตต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนด จึงจะรับมอบทรัพย์ได้

ลงประกาศฟรี !!! ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย คลิ๊ก …

ขายคอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดิน กับ Dot Property ขายง่าย ขายไว หรือต้องการซื้อ-เช่า !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่